วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

สถานีอนามัย , หมออนามัย ,ความสำคัญต่อระบบสาธารณสุข?

สถานีอนามัย คือสถานบริการทางสาธารณสุขเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ซึ่งให้บริการด้านการรักษาพยาบาล งานควบคุมป้องกันโรค งานส่งเสริมสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในเขตรับผิดชอบ ตั้งแต่เกิดจนตาย เดิมเรียกว่า สุขศาลา มาเปลี่ยนเป็น สถานีอนามัย และปัจจุบัน เปลี่ยนเป็น ศูนย์สุขภาพชุมชน ตำบลๆ หนึ่งจะมีจำนวนสถานีอนามัยประมาณ 1-2 แห่ง
สถานีอนามัยรับผิดชอบ งานบริการด้านสาธารณสุขต่างๆ เช่น ตรวจรักษาพยาบาลขั้นต้น การฝากครรภ์ การให้บริการสร้างเสริมภูมิคุมกันโรค ฉีดวัคซินเด็ก การดูแลโภชนาการเด็ก งานอนามัยโรงเรียน ตรวจสุขภาพเบื้องต้นสำหรับนักเรียน คัดกรองภาวะผิดปกติต่างๆเช่น เบาหวาน ความดันโลหิต คัดกรองมะเร็งปากมดลูก สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ การดูแลผู้พิการ การดูแลวัยทำงาน การดูแลผู้สูงอายุ ตรวจสุขภาพเบื้องต้น งานฟื้นฟูสมรรถภาพ และอีกมากมายภาระหน้าที่ เป็นสถานที่ดูแลประชาชนด้านสุขภาพที่ดูแลประชาชนตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เกิด จนตาย
บุคลากร ตามกรอบกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย
  1. เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข หัวหน้าสถานีอนามัย (บัจจุบันได้ถูกยุบตำแหน่งและตำแหน่งนี้ เจ้าหน้าที่ที่จบ ปริญญาตรี ให้ปรับไปเป็นนักวิชาการสาธารณสุข ส่วนที่ไม่จบ ปริญญาตรี ให้ปรับไปเป็นเจ้าพนักงานสาธารณสุขและยังคงเป็นหัวหน้าสถานีอนามัยเช่นเดิม โดยกำลังอยู่ระหว่างปรับเป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตามนโยบายของรัฐบาล)
  2. นักวิชาการสาธารณสุข จบ ป.ตรี (สาธารณสุขศาสตร์)
  3. พยาบาลวิชาชีพ
  4. เจ้าพนักงานสาธารณสุข (จบ ปวท/ปวส)
  5. เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข (จบ ปวท/ปวส)
  6. เจ้าพนักงานเภสัชกรรม (จบ ปวท/ปวส)
  7. เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลและ/หรือผู้ช่วยเจ้าหน้าที่และ/หรือเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือคนใข้ (จบ ม.6 ปวช ปวส ป.ตรี)
จำนวนบุคลากรอาจไม่ครบตามจำนวนนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนเจ้าหน้าที่ในสังกัด บางแห่งอาจมี 1 คน 2 คน หรือ 3 คนก็ได้ สาเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้ เกิดปัญหาในการทำงานของสถานีอนามัยที่มีบุคลากรน้อย แต่จำนวนประชากรในเขตรับผิดชอบมาก ภาระงานที่มากมาย
แม้ว่าในปัจจุบันโรงพยาบาลระดับอำเภอจะครอบคลุมเกือบทุกอำเภอแต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องใช้บริการที่สถานีอนามัย ประชาชนในชนบท จะใช้บริการด้านสุขภาพกับสถานีอนามัย จนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ประชาชนจะเรียกเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยว่า หมออนามัย ทั้งที่ความจริงแล้วเจ้าหน้าที่เหล่านี้ (ยกเว้นพยาบาล) ไม่มีแม่แต่ พรบ.วิชาชีพใดๆ มารองรับการทำงาน
ในปี 2556 พรบ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ผ่านการพิจารณาเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานของหมออนามัย มีสภามาดูแล หมออนามัยให้มีมาตรฐาน กำลังอยู่ในช่วงเตรียมการเป็นสภาวิชาชีพที่สมบูรณ์แบบอีกวิชาชีพหนึ่ง โดยปัจจุบัน ได้มีการกำหนดให้สถานีอนามัยเปลี่ยนชื่อไปเป็น ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังคงนิยมเรียกว่าเป็นสถานีอนามัยอยู่เช่นเดิม
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นสถานพยาบาลประจำตำบลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) ได้รับการยกฐานะจากสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชน ตามนโยบาลของรัฐบาลรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี พ.ศ. 2552 ซึ่งได้จัดสรรงบประมาณภายใต้ แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เพื่อยกระดับสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีการให้บริการสาธารณสุขที่หลากหลาย อาทิ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเกือบทั้งหมดจะไม่รับผู้ป่วยใน และไม่มีแพทย์ทำงานอยู่เป็นประจำ แต่จะอาศัยความร่วมมือกับแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนที่ขนาดใหญ่พอจะเป็นหน่วยส่งต่อได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น